จัตุรัสเทียนอันเหมินเป็นจัตุรัสที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ในกรุงปักกิ่งประเทศจีน โดยมีความยาวตั้งแต่ทิศเหนือจรดทิศใต้ 880 เมตร และทิศตะวันออกจรดทิศตะวันตก 500 เมตร พื้นที่ทั้งสิ้น 440,000 ตารางเมตร สามารถจุประชากรได้ถึง 1,000,000 คน จัตุรัสเทียนอันเหมินมีความสำคัญในวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่ และเป็นสัญลักษณ์ของประเทศจีน เพราะว่าจัตุรัสเทียนอันเหมินคือที่ตั้งของเหตุการณ์สำคัญมากมายในประวัติศาสตร์จีน
ความหมายของเทียนอันเหมิน คำว่า "เทียน" แปลว่า ฟ้า "อัน" แปลว่า ผาสุก "เหมิน" แปลว่า ประตู
ประตูเทียนอัน หรือเทียนอันเหมิน เดิมทีเป็นประตูหน้าของพระราชวังต้องห้ามกู้กง สร้างเมื่อปี ค.ศ. 1417 มีชื่อเดิมว่า "เฉิงเทียนเหมิน" หลังซ่อมแซมใหม่ในสมัยจักรพรรดิซุ่นจื้อ แห่งราชวงศ์ชิง ในปี ค.ศ. 1651 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นเทียนอานเหมิน จากประตูนี้ เราสามารถเดินทะลุเข้าวังกู้กงได้ ลักษณะของประตูวังเก่าแห่งนี้ เป็นกำแพงใหญ่ ชั้นบนสร้างเป็นเก๋งหลังคาสีเหลือง มีเสากลมสีแดง 10 ต้น เพื่อให้เกิดเป็นช่วงระหว่างเสา 9 ช่อง ตามตัวเลขทรงโปรดของจักรพรรดิ ชั้นล่างเป็นช่องประตูทรงเกือกม้า 5 ช่อง มีภาพเหมือนสีน้ำมันขนาดใหญ่ของประธานเหมา เจ๋อ ตุง ติดตั้งเหนือประตูกลางสองข้างของภาพนี้ มีคำขวัญเขียนว่า "ประชาชนจีนจงเจริญ" และ "ประชากรโลกจงเจริญ" เป็นคำพูดของ ท่านเหมา เมื่อครั้งกล่าวคำปราศรัยบนพลับพลาเทียนอันเหมิน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 ซึ่งเป็นวันสถาปนาประเทศจีนใหม่ หรือที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า "สาธารณรัฐประชาชนจีน" และได้ถือเอาวันที่ 1 ตุลาคม เป็นวันชาติจีนตลอดมาจวบจนปัจจุบันบริเวณหน้าเทียนอันเหมิน มีสะพานหินที่แกะสลักลวดลายสวยงามเรียงขนานกัน 5 สะพานด้วยกัน มีสิงโตหินขนานใหญ่ ยืนเป็นยามรักษาประตูอีก 1 คู่ สำหรับสิงโตคู่ที่วางประดับหน้าตำหนักและอาคารบ้านเรือนทั่วไป จะมีตำแหน่งการจัดวางที่ตายตัว โดยตัวผู้จะถูกวางทางซ้าย ตัวเมียอยู่ทางด้านขวาเสมอ
จัตุรัสเทียนอันเหมินล้อมรอบด้วยสถาปัตยกรรมที่มีความสำคัญได้แก่
ทิศเหนือ หอประตูเทียนอันเหมิน
ทิศตะวันตก มหาศาลาประชาคม
ทิศตะวันออก พิพิธภัณฑ์การปฏิวัติแห่งชาติ และพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ชาติจีน
ทิศใต้ หอรำลึกท่านประธานเหมา และหอประตูเจิ้งหยางเหมิน หรือเฉียนเหมิน
กลางจัตุรัส อนุสาวรีย์วีรชน
ทิศเหนือ หอประตูเทียนอันเหมิน
ทิศตะวันตก มหาศาลาประชาคม
ทิศตะวันออก พิพิธภัณฑ์การปฏิวัติแห่งชาติ และพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ชาติจีน
ทิศใต้ หอรำลึกท่านประธานเหมา และหอประตูเจิ้งหยางเหมิน หรือเฉียนเหมิน
กลางจัตุรัส อนุสาวรีย์วีรชน
No comments:
Post a Comment