วัดขงจื๊อ (Beijing Confucius Temple)

วัดขงจื๊อ, Beijing Confucius Temple

          ในอดีตสถานที่แห่งนี้เคยเป็นสถานที่สอบข้าราชการ “การสอบจอหงวน” ขงจื้อ ชื่อรอง จ้งหนี เป็นนักคิดและนักปรัชญาสังคมที่มีชื่อเสียงของจีน คำสอนของขงจื๊อนั้น ฝังรากลึกลงไปในสังคมเอเชียตะวันออกมาเป็นเวลาถึง 20 ศตวรรษ หลักปรัชญาของขงจื๊อนั้นเน้นเกี่ยวกับศีลธรรมส่วนตัว และศีลธรรมในการปกครอง ความถูกต้องเหมาะสมของความสัมพันธ์ในสังคม และ ความยุติธรรมและบริสุทธิ์ใจ
          เมื่อขงจื๊อเกิดมาได้ 3 ปี พ่อที่เป็นคนสูงใหญ่แข็งแรง ก็ตายจากไป เด็กน้อยชอบเล่นตั้งโต๊ะเซ่นไหว้ ชอบเลียนแบบท่าทางพิธีกรรมของผู้ใหญ่ เมื่ออายุได้ 15 ปี ฝักใฝ่การเล่าเรียน อายุ 19 ปี ได้แต่งงานกับแม่นางหยวนกวน ในปีถัดมาได้ลูกชาย ให้ชื่อว่า คงลี้ อายุ 20 ขงจื๊อได้เป็น เสมียนยุ้งฉาง  และได้ใส่ใจความถูกต้องเนื่องจากทำงานกับตัวเลข ต่อมาได้ทำหลายหน้าที่รวมทั้ง คนดูแลสัตว์ คนคุมงานก่อสร้าง และในระหว่างที่ศึกษาพิธีกรรมจากรัฐโจว ได้โอกาสไปเยี่ยมเล่าจื๊อ ขงจื๊อมีความสัมพันธ์อันดีกับเสนาธิบดีของอ๋องจิง และได้ฝากตัวเป็นพ่อบ้าน และได้มีการพูดคุยกับอ๋องในการวางแผน และหลักการปกครอง แต่เนื่องจากโดนใส่ความจากที่ปรึกษาของรัฐ ขงจื๊อจึงเดินทางต่อไปรัฐอื่น ภายหลังได้ฝากฝังตัวเองช่วยบ้านเมืองกับอ๋องติง และได้รับการแต่งตั้งดินแดนส่วนกลางของลู่ เป็นเสนาธิบดีใหญ่ บ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง อาชญากรลดลง คนมีคุณธรรมและเคารพผู้อาวุโส และในระหว่างนั้น ได้มีการแบ่งแย่งดินแดน การแย่งชิงเมืองต่าง ๆ เกิดขึ้น ขงจื๊อได้เดินทางจากเมืองไปสู่เมืองต่าง ๆ เรียนรู้หลักการปกครอง และวัฒนธรรมท้องถิ่นแต่ละที่ ภายหลังได้ถูกหมายเอาชีวิต และถูกขับไล่ให้ตกทุกข์ได้ยาก และได้กลับมาสู่แคว้นลู่อีกครั้ง ขงจื๊อได้เริ่มรวบรวบพิธีกรรมโบราณ บทเพลง ตำราโบราณ และลำดับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และได้สอนสั่งลูกศิษย์แถบแม่น้ำซูกับแม่น้ำสี ภายหลังขงจื๊อได้ล้มป่วยหนัก และเจ็ดวันให้หลัง ได้อำลาโลกตรงกับเดือนสี่ทางจันทรคติ ในปีที่ 16 รัชสมัยอ๋องอี้ รวมอายุได้ 73 ปี
          ขงจื้อ มีวิธีของตนในการรับศิษย์ ไม่ว่าจะเป็นคนในชนชั้นใด แค่มอบสิ่งของเล็กน้อยเป็นค่าเล่าเรียนแม้ “เนื้อตากแห้ง” เพียงชิ้นเดียวก็รับไว้เป็นลูกศิษย์ เล่ากันว่า ท่านมีลูกศิษย์มากถึง 3,000 คน ที่ยกย่องกันว่า มีความรู้ปราดเปรื่อง และมีคุณธรรมสูงส่งมี 70 คน จากสานุศิษย์ 70 คนนี้ คนรุ่นหลังจึงได้ทราบถึงแนวคิดต่าง ๆ ของขงจื้อ เนื่องจากลูกศิษย์ขงจื้อ ได้บันทึกคำสอนของอาจารย์ตนไว้ในรูปของ คำสนทนาระหว่างอาจารย์กับศิษย์โดยขึ้นต้นว่า “อาจารย์กล่าวว่า...” ภายหลังลูกศิษย์ได้นำคำสอนของขงจื้อมาประมวลแล้วเรียบเรียงขี้น เป็นหนังสือชื่อว่า “หลุนอวี่” บั้นปลายชีวิต ขงจื้อก็ได้รวบรวม บันทึกพงศาวดารและปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ มีชื่อว่า “ชุนชิว” ขงจื้อยัง เป็นบรรณาธิการหนังสือสำคัญ ๆทางวรรณคดีจีนซึ่งเป็นที่ยกย่องกันภายหลังได้แก่ “ซูจิง” (ตำราประวัติศาสตร์) “ซือจิง” (ตำราว่าด้วยลำนำกวี) เป็นผู้ตรวจแก้ 
อี้ว์จิง” (ตำราว่าด้วยการดนตรี-แต่สาบสูญไปในภายหลัง) และ หลี่จี้” (ตำราว่าด้วยจารีตประเพณี) หนังสือทั้ง 5 เล่มนี้เรียกรวมกันในภาษาจีนว่า อู่จิง” (คัมภีร์ทั้งห้า)
          ขงจื้อเน้นหนักในการบ่มเพาะเรื่องเมตตาธรรม ความชอบธรรม และจารีตประเพณี คำสอนของท่านเป็นสิ่งที่มีคุณค่า และงดงามอย่างยิ่ง ความคิดของขงจื้อได้กลายเป็นแกนหลักสำคัญในวัฒนธรรมจีน และมีอิทธิพลสำคัญต่อความคิดของชนชาติจีน คุณธรรมอันดับแรก ที่ขงจื้อสอนสั่งคือ เหริน” หรือเมตตาธรรม เมื่อลูกศิษย์แต่ละคนของ ท่านขงจื่อเรียนถามท่านอาจารย์ว่า "อะไรเรียกว่า เหริน ?" ท่านก็จะตอบโดยพิจารณาตามบุคลิกอุปนิสัยใจคอของลูกศิษย์คนนั้น ๆ ดังนั้นเมื่อเห็นคำอธิบายกับลูกศิษย์แต่ละคนแล้วก็ไม่เหมือนกันเลย แต่ต้องเอาคำอธิบายทั้งหลายมารวมความกันจึงเป็นความหมายอัน สมบูรณ์แบบของ "เหริน" พอถึงวัยชรา ขงจื้อใช้เวลาทุ่มเทอยู่กับการจัดการประวัติศาสตร์ และดำเนินการด้านการศึกษาต่อไป ขงจื้อก็ถึงแก่กรรมปี 479 ก่อนคริสต์ศักราช ร่างถูกฝังไว้ที่ซื่อสุ่ยทางเหนือของรัฐหลู่ (ปัจจุบันอยู่ในมณฑลซานตง) ก่อนสิ้นใจ ขงจื๊อได้ทิ้งท้ายข้อความไว้กับ ซื่อคง ไว้ว่า "ขุนเขาต้องพังทลาย ขื่อคานแข็งแรงปานใด สุดท้ายต้องพังลงมา เหมือนเช่น บัณฑิตที่สุดท้ายต้องร่วงโรย"

No comments:

Post a Comment